วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

หน่วยการเรียนที่1การเรียนการสอนเกี่ยวกับนวัตกรรม

บุกเบิกวาในระยะเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมานี้ วางการศึกษาของไทยได้เคลื่อนไหวและพยายามนำความคิดและวิธีการใหม่ ๆหรือนวกรรมการศึกษามาใช้เพื่อพัฒนาไปสู่ผลทางการศึกษาที่ดีขึ้นในบรรดาหลายความคิดและหลายวิธีการเหล่านั้นในเชิงปฏิบัติอาจยังเป็นที่สับสน และเป็นที่น่าสงสัยในแง่ต่าง ๆ อยู่หลายอย่าง เป็นต้นว่า ในขณะนี้มีนวกรรมการศึกษาใดบ้าง ที่เป็นที่ยอมรับและนำไปใช้กันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องส่วนมากระดับการยอมรับนวกรรมยังอยู่ในระดับใดเพราะเหตุใดนวกรรมการศึกษาบางประเภทจึงเป็นที่ยอมรับกันอย่างมั่นคงบางประเภทล้มลุกคลุกคลาน บางประเภทปรากฏเป็นที่ยอมรับกันพักเดียวก็เลิกไปตลอดจนนวกรรมการศึกษาเหล่านั้นมาจากไหนหรือเกิดขึ้นได้อย่างไรดังนั้นจึงขอถือโอกาสนี้อภิปรายแง่คิดเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาเป็นด้าน ๆ ไปดังต่อไปนี้1. การยอมนับและระดับการยอมรับนวกรรมการศึกษา นับตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา ได้มีการสำรวจวิจัยประเภทของนวกรรมการศึกษาในประเทศไทยหลายครั้งและหลายระดับการศึกษารวมทั้งที่ปรากฏเป็นรายงานของสถาบันการศึกษาบางแห่งในการนำนวกรรมการศึกษามาทดลองใช้ในสถาบันของตน ปรากฏว่ามีการใช้นวกรรมการศึกษากันอยู่หลายประเภทตั้งแต่การจัดหลักสูตรแบบบูรณาการการสอนเป็นคณะ การใช้ศูนย์การเรียน การสอนแบบสืบสวนการสอนแบบจุลภาค บทเรียนโปรแกรมชุดการเรียนไปจนถึงการสอนระบบทางไกลในบรรดานวกรรมการศึกษาเหล่านั้นบางประเภทบางแห่งก็นำมาใช้จนเป็นธรรมดาไปแล้ว บางแห่งก็เลิกใช้ หรือไม่ก็ยังอยู่ในขั้นทดลองและตัดสินใจ บางแห่งก็ต้องการนำมาใช้จริงและแน่นอนส่วนจะทำได้เพียงใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจพิจารณาก็คือการยอมรับนวกรรมการศึกษานี้ มีอันดับของการยอมรับด้วย นวกรรมบางประเภทในสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษาบางแห่งหรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางส่วน อาจเพียงยอมรับในระดับตื่นตัว สนใจหรือรู้เรื่องในบางแห่งบางส่วนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอาจยอมรับในระดับการเรียนรู้ ศึกษาแล้วทดลองปฏิบัติ บางแห่งบางส่วนอาจไปถึงขั้นของการนำมาปฏิบัติและขยายขอบข่ายของการใช้นวกรรมนั้นให้กว้างขวางออกไปมากขึ้นทุกทีดังนั้นในการศึกษาเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาที่มีอยู่ในประเทศไทยในโอกาสต่อไปน่าจะได้พิจารณาไม่เพียงแต่ประเภทของนวกรรมและระดับของการศึกษาเท่านั้นน่าจะได้พิจารณาตัวแปรทางด้านระดับของการยอมรับนวกรรมการศึกษานั้น ๆ ด้วย 2. องค์ประกอบในการยอมรับนวกรรมการศึกษา ตามที่กล่าวมาแล้วในความนำว่า นวกรรมการศึกษาบางประเภทในสถาบันและหน่วยงานการศึกษาบางแห่ง และโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางส่วนมีการยอมรับในระดับของการนำไปใช้อย่างมั่นคงแต่ในบางแห่งและโดยบุคคลและกลุ่มบุคคล บางส่วนนวกรรมการศึกษานั้นกลับได้รับการปฏิเสธหรือไม่ก็มีอุปสรรคไม่อาจดำเนินไปได้อย่างราบรื่นบางประเภทบางแห่งและโดยบุคคลบางส่วนยอมรับกันเพียงระยะสั้น ๆแล้วก็ล้มเลิกไปจึงน่าจะได้ศึกษากันให้เห็นประจักษ์ว่าการยอมรับหรือปฏิเสธนวกรรมการศึกษาเกิดจากองค์ประกอบอะไร ตามความเป็นจริงการศึกษาทำนองนี้ จำเป็นที่จะต้องเอาหลักวิชาเข้ามาจับก่อนโดยศึกษาตัวแปรที่จะมีผลต่อการยอมรับหรือไม่ยอมรับนวกรรมการศึกษา โดยทั่วไปก่อน เป็นต้นว่า- การสนองต่อจุดมุ่งหมายในการพัฒนาและการแก้ปัญหาการศึกษาและ การเรียนการสอน- ตัวแปรเกี่ยวกับ 4-M- ความก้าวหน้าและพัฒนาการทางวิชาการและเทคโนโลยี- สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม- ความยุ่งยากของนวกรรมการศึกษานั้นเอง- การสนับสนุนของฝ่ายบริหาร- เจตคติของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง- ความสามารถและความตั้งใจของผู้เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้และอื่น ๆเมื่อตั้งตัวแปรอะไรก็สุดแล้วแต่จะเห็นเหมาะสมแล้วก็สามารถที่จะนำไปศึกษาในเชิงของกรณีศึกษา หรือการสำรวจในระดับกว้างเพื่อให้ได้ภาพในเรื่องนี้โดยรวมชัดขึ้นผลของการทำเช่นนี้จะทำให้ไม่เพียงพอแต่เราจะเห็นภาพของตัวแปรที่ส่งผลต่อการยอมรับนวกรรมการศึกษาได้ชัดเจนขึ้นเท่านั้นยังสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการยอมรับในระดับสูงและทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้ในอนาคต3. การเกิด การเผยแพร่ และการยอมรับนวกรรมการศึกษา ในบางเวลา เราเคยหยุดและคิดกันบ้างหรือไม่ว่า ความคิด และการกระทำใหม่ ๆทางการศึกษาบางอย่างนั้น หรือที่ใช้ หรือทดลองใช้อยู่นั้นมาจากไหน มาได้อย่างไรและทำไมจึงนำเอามาใช้หรือนำมาทดลองใช้กันขึ้นแน่นอนนวกรรมการศึกษาแต่ละอย่างจะต้องมีที่มารวมทั้งมีขั้นตอนของการเผยแพร่ออกไป และได้รับการยอมรับขึ้นในที่สุดสิ่งที่น่าจับตาดูหรือให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ กลุ่มบุคคล 3 ฝ่าย อันได้แก่ นวกร ผู้บริหารและผู้ปฏิบัตินวกร อาจหมายรวมถึงบุคคลที่ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือและวิธีการใหม่ ๆทางการศึกษาขึ้นเองซึ่งมักเป็นเทคโนโลยีการศึกษาเมื่อคิดขึ้นได้แล้วก็ทดลอง และพัฒนาให้มีคุณภาพละประสิทธิภาพดีขึ้น หรือได้มาตรฐานแล้วก็เผยแพร่ออกไป เช่นคิดวิธีจัดห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน คิดวิธีสอนจริยธรรมแบบเบญจขันธ์ เป็นต้นหรือหมายถึง หน่วยงาน เช่น โครงการส่งเสริมสมรรถภาพการสอน (RIT) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ส.ส.ว.ท.)ได้คิดวิธีใหม่ๆ ทางการเรียนด้วยตนเองหลายรูปแบบ และวิธีการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ขึ้น ทดลองและพัฒนาจนได้มาตรฐานแล้วเผยแพร่ออกไปนวกรการศึกษาบางท่านหรือบางกลุ่ม อาจได้แก่ ผู้ที่ศึกษาวิธีการใหม่ๆ มาจากการศึกษาเล่าเรียนหรือจากการอบรมแล้วนำมาเผยแพร่หรือนำมาดัดแปลง ทดลองแล้วเผยแพร่ต่อไป บางท่านอาจเป็นครูอาจารย์ที่เชี่ยวชาญ มีหน้าที่ต้องสอน อบรมเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษา แก่นิสิตนักศึกษาอยู่แล้ว ก็สอนและอบรม และสนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติมหรือไม่ก็เป็นวิทยากรในเรื่องเหล่านี้ให้แก่ผู้อื่นที่ต้องการนำไปใช้ นวกรการศึกษาบางกลุ่มอาจได้แก่ผู้ที่ทำงานอยู่และได้คิดค้นวิธีการใหม่ ๆจนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ และพยายามเผยแพร่วิธีการใหม่ ๆ เหล่านั้น จากประสบการณ์ของตนต่อไป ถ้าหากจะกล่าวรวม ๆ แล้วนวกรการศึกษามักจะเป็นผู้ที่ คิด-รู้-เล่นเกี่ยวกับเครื่องมือและวิธีการใหม่ๆ ทางการศึกษา และพยายามเผยแพร่สิ่งใหม่ ๆนั้นต่อไป แต่สิ่งที่น่าจะได้ศึกษาให้ละเอียดในเรื่องนี้ก็คือกลุ่มไหนหรือนวกรรมประเภทใดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อการนำนวกรรมไปใช้มากที่สุดเพราะในการวางแผนเพื่อพัฒนาอิทธิพลทางด้านนี้จะสามารถทำได้ถูกจุดที่สุดผู้บริหาร การนำนวกรรมการศึกษาไปใช้จะต่อเนื่อง มั่นคงหรือไม่เพียงใด เรามักจะพบว่าส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับ บารมี ที่ได้รับจากผู้บริหาร หน่วยงานการศึกษาเริ่มตั้งแต่ความที่ท่านเหล่านั้นมีเจตคติที่ดีต่อนวกรรมการศึกษาความเป็นผู้นำหรือผู้งแผนการใช้ไปจนถึงการให้สนับสนุนและอิสระแก่ผู้ปฏิบัติหรือแก่การทดลองอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง เพราะมิฉะนั้นแล้ว จะทำให้การปฏิบัติการใหม่ ๆ ต้องล้มลุกคลุกคลานหรือล้มเหลวเสียกลางคันเมื่อเป็นเช่นนี้เราจึงน่าจะให้ความสำคัญต่อคุณลักษณะทางผู้บริหารในฐานะตัวแปรเกี่ยวกับการยอมรับนวกรรมการศึกษาได้อีกทางหนึ่ง และในบรรดาตัวแปรเหล่านั้น ตัวแปรใดมีผลต่อการงอกงามในการนำนวกรรมการศึกษาไปใช้มากน้อยอย่างไรผู้ปฏิบัติ นวกรรมการศึกษาจะมีผลต่อการศึกษาในด้านคุณภาพและการแก้ปัญหาเพียงใดหรือไม่นั้น ต้องอาศัยว่ามีผู้ยอมรับและนำเครื่องมือและวิธีการใหม่ ๆ ทางการศึกษาเหล่านั้นไปใช้ ผู้ปฏิบัติในที่นี้ก็คือบุคคลที่เป็นผู้รับ ผู้ใช้ และผู้สืบทอดความคิดและวิธีการใหม่ ๆ ที่นวกรรมและผู้บริการเผยแพร่ และสนับสนุนให้กระทำทว่า มีสิ่งที่น่าสังเกตก็คือ ความคิด และวิธีปฏิบัติใหม่ ๆ ซึ่งถูกถ่ายทอดมาจากฝ่ายนวกรและผู้บริหารอย่างดีแล้ว กลับมาล้มเหลวตรงที่ผู้นำมาปฏิบัติ หรือตรงผู้ใช้นี่เอง เพราะเหตุใดเพราะอาจมีตัวแปรเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติหลายประการ ซึ่งเรายังไม่ได้ศึกษากันอย่างแท้จริงโดยรวมหรือเป็นกรณี ๆ ไปที่ส่งผลเป็นเช่นนั้น เป็นต้นว่า เจตคติที่เขามีต่อการปฏิบัติหรือวิธีการใหม่ ๆ นั้น ความตั้งใจและความสามารถที่เขามีตลอดจนความเข้าใจในนวกรรมการศึกษาอย่างแจ่มแจ้งของเขาด้วยความเป็นไปได้ ความมั่นคงและความต่อเนื่องของการยอมรับและนำนวัตกรรมการศึกษาใด ๆ ไปใช้ น่าจะขึ้นอยู่กับวัฏจักรหรือปฏิสัมพันธ์ของทีมกระบวนการนวกรรม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามฝ่ายที่ได้กล่าวมาแล้ว และตัวแปรของแต่ละฝ่ายเหล่านั้น การเกิดขึ้น การเผยแพร และการยอมรับอาจเริ่มจากนวกรการศึกษาไปยังผู้ปฏิบัติโดยตรงหรือผ่านไปทางผู้บริหารจึงไปถึงผู้ปฏิบัติก็ได้หรือผู้บริหารเป็นผู้ริเริ่ม และเป็นตัวกลางให้ผู้ปฏิบัติพบกับนวกรการศึกษา เพื่อก่อให้เกิดการนำเอาความคิดและวิธีการใหม่ ๆที่ต้องการมาใช้ก็ได้ในเรื่องนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ควรจะค้นหาให้พบจากกรณีที่เกิดขึ้นทั้งหลายทางนวกรรมการศึกษาว่าวงจรใดที่มีผลทางบวกต่อการยอมรับนวกรรมการศึกษาที่ได้ผลและการค้นพบในเรื่องนี้จะนำไปสู่การวางแผนที่เหมาะสมของการเผยแพร่นวกรรมการศึกษาต่อไปมีแง่คิดที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับการขยายผลของการนำนวกรรมการศึกษาไปใช้ให้กว้างขวางและต่อเนื่อง ซึ่งส่วนมากดูเหมือนว่าไม่เป็นไปตามที่ต้องการ เช่นการอบรมวิธีการเขียนบทเรียนโปรแกรมให้แก่ครูของเขตการศึกษา บางวิชา บางระดับโดยหวังว่าเมื่อเขียนบทเรียนแล้วครูเหล่านั้นคงจะผลิตบทเรียนโปรแกรมขึ้นใช้กันต่อไปหรือวิทยาลัยครูจัดการอบรมการสร้างชุดการเรียนวิชาต่าง ๆ แก่อาจารย์ที่สอนวิชาเหล่านั้นและหวังเช่นเดียว แต่ปรากฏภายหลังว่า จากจำนวนผู้ที่เคยเข้ารับการอบรมไปแล้วทั้งหมด จะมีเพียงไม่กี่คนที่นำไปทำ และนำไปใช้ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ของการหยุดชะงัก ทำให้น่าคิดว่า ผู้ผลิตกับผู้ใช้น่าจะเป็นคนละพวกกันมากกว่าเป็นคนกลุ่มเดียวกัน หรือคน ๆเดียวกัน ผู้ใช้ซึ่งแน่ละมีอยู่จำนวนมาก เป็นผู้ที่รอผลิตผลจากผู้ผลิต ดังนั้นผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาอย่างน้อยควรจะสังกัดหน่วยงานผลิตและบริการ ซึ่งมีโครงการต่อเนื่องรองรับ หน่วยงานนี้อาจเป็นศูนย์ซึ่งมีหน้าที่คิด ทดลอง และผลิตก่อนที่จะนำไปเผยแพร่แก่ผู้ใช้ด้วยการอบรมวิธีการใช้นวกรรมการศึกษานั้นแก่เขาดังนั้นแทนที่ผู้ใช้จะเป็นผู้ผลิตและใช้นวกรรมการศึกษาเองซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ ก็เป็นเพียงรับการถ่ายทอดนวกรรมเพื่อใช้อย่างเดียว เท่านี้ก็พอแล้วและคิดว่านี่เป็นวิถีทางของการแพร่ขยายที่ได้ผลกว่าสรุปแล้วก็คือเส้นทางหรือขั้นตอนของการเผยแพร่และการดำเนินการแพร่ขยายการใช้นวกรรมการศึกษาให้ได้ผลนั้นต้องพิจารณาว่าควรจะทำกับใครและอย่างไรจึงจะมีผลทางการปฏิบัติที่ต่อเนื่องและกว้างขวาง จากแง่คิดเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดข้างต้นทั้งในด้านที่เกี่ยวกับการยอมรับ และระดับของการยอมรับก็ดี องค์ประกอบที่จะส่งผลต่อการยอมรับหรือไม่ยอมรับก็คือ วัฏจักร หรือ วงจรของกระบวนการนวกรรมตลอดจนการขยายผลในการใช้นวกรรมการศึกษาก็ดีจะเห็นว่ามีล้มเหลวอยู่หลายประการ และดูเหมือนจะมองเห็นกันอยู่ แต่ถ้าต้องการคำตอบไปใช้ขึ้นอยู่กับตัวแปรใดมากน้อยอย่างไร แล้วกลับเห็นไม่ค่อยชัด คงจะต้องให้ชัดแจ้งกันต่อไป ในประเด็นต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นและหวังว่าถ้าทำและทำได้สำเร็จผลของการค้นพบจะสามารถนำมาเป็นข้อมูลสำหรับวางแผน ดำเนินการพัฒนางานด้านนวกรรมการศึกษาได้รัดกุม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นมาและเป็นอยู่ในขณะนี้

หน่วยการเรียนที่2 นวัตกรรมการนำไปใช้

ลักษณะของนวัตกรรม/การนำไปใช้
เป็นหนังสือที่ใช้อักษรไทยตัวที่ขึ้นต้นคำ ที่บ่งบอกคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมพื้นฐานเป็นสื่อ กรอบความคิด แนวทางการปฏิบัติของผู้เรียนนำไปใช้โดยครูประจำชั้นครูประจำวิชาทุกคน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี โดย.........
1. ปลูกจิตสำนึก เจตนารมณ์และสร้างความตระหนักให้เกิดในตัวผู้เรียน
2. จัดกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมพื้นฐานโดยตรง
3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ บูรณาการเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในทุกกลุ่มสาระ
4. สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
5. นำเรื่องที่เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมในกระบวนการอ่าน คิดวิเคราะห์และการเขียน สื่อความ
6. จัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสืบค้นข้อมูล การวิเคราะห์ แบบเรียนร่วม บทบาทสมมติ จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง
7. ให้การเสริมแรงและสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนกระทำความดี
8. ส่งเสริมและยกย่องผู้กระทำดี
10. ประเมินค่าพฤติกรรม ปรับปรุงแก้ไข พัฒนา
11. พัฒนาต่อยอดนวัตกรรม สื่อนวัตกรรมใหม่ วิจัยในชั้นเรียน
ขั้นตอน/วิธีการพัฒนา
* สำรวจวิเคราะห์ ปัญหาที่มา และความต้องการ
* วางกรอบแนวทางในการแก้ปัญหา สร้างนวัตกรรมอักษรเด็กดีมีคุณธรรม 3 ระดับ
1. นำอักษรไทยจำนวน 28 ตัวอักษร ที่ขึ้นต้นคำ สื่อความหมาย ความเข้าใจ ด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมพื้นฐน
2. นำอักษรไทย 12 ตัว มากำหนด ข้อปฏิบัติ ในระดับที่ผู้เรียนปฏิบัติได้
3. นำอักษรไทย 5 ตัวให้นิยามความหมายกำหนด ข้อบ่งชี้ในการปฏิบัติ ปลูกฝัง ประเมินตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน
* จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น คู่มือการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คู่มือครู คู่มือนักเรียน แบบสำรวจพฤติกรรม แบบประเมินค่าพฤติกรรม เป็นค้น
* นิเทศติดตาม ประเมินผล ปรับปรุง แก้ไข พัฒนา
* ต่อยอดนวัตกรรม
กลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับผลประโยชน์
นักเรียนทุกคน โดยเฉพาะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 บุคลากรครูโรงเรียนวัดวังไทร ผู้ปกครอง ชุมชน
ผลที่ได้รับ/ประโยชน์คุณค่าของนวัตกรรม
โรงเรียนมีนวัตกรรมต้นแบบใช้ในกระบวนการเรียนรู้ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน ก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
1. ด้านการบริหาร มีการบริหารจัดการ ที่มีประสิทธิภาพ ตามกระบวนการ P D C A
2. ด้านผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ เข้าใจ พัฒนาตนเองให้เป็นคนดีได้
3. ด้านครู มีสื่อนวัตกรรมเป็นแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ การปลูกฝังพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี นำนวัตกรรมไปเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อยอด นวัตกรรมใหม่เกิดการพัฒนางาน
4. ด้านผู้ปกครอง ชุมชน สังคม ได้สมาชิกที่ดี ของครอบครัว ชุมชน สังคม เป็นพื้นฐานของการพัฒนาต่อไป
5. นวัตกรรมได้นำไปแสดงเผยแพร่ มีโรงเรียน ครู ให้ความสนใจและขอนำไปใช้ ร้อยละ 95 ของผู้เข้าชมนิทรรศการ

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

หน่วยการเรียนที่3 ความสำคัญของนวัตกรรม

ความสำคัญของนวัตกรรมในการแข่งขันยุคใหม่
มองปัจจุบันผมจะได้ยินผู้บริหารจำนวนมากที่พูดถึงคำว่านวัตกรรมหรือ Innovation ซึ่งโดยส่วนใหญ่นั้น ผู้บริหารมักจะต้องการให้องค์กรที่ตนเองบริหารอยู่มุ่งเน้นในเรื่องของนวัตกรรม หรือมีความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม (Innovative Organization) ทำให้เกิดข้อสงสัยตามมาในหมู่ผู้บริหารระดับกลาง และระดับล่างว่านวัตกรรมนั้นจริงๆ แล้วคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และการที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมนั้นจะทำได้อย่างไร?
มักจะมีความเข้าใจผิดอยู่มากเวลาเรานึกถึงคำว่านวัตกรรมว่าต้องหมายถึง สิ่งที่เป็นเทคโนโลยีชั้นสูงหรือสินค้าใหม่ๆ ที่มีความเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงที่ชอบออกมาดึงดูดเงินในกระเป๋าของเรา อีกทั้งยังมีความเข้าใจว่านวัตกรรมก็คือการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ แต่จริงๆ แล้วคำว่านวัตกรรมไม่ได้หมายถึงเทคโนโลยีเท่านั้น
รากศัพท์ของคำว่า Innovation มาจากภาษาละตินว่า 'innovare' ที่แปลว่า การทำสิ่งใหม่ๆ ในขณะเดียวกันเมื่อเปิดดูพจนานุกรมของ สอ เสถบุตร ก็จะพบว่าคำว่า Innovation แปลเป็นไทยว่า เปลี่ยนแปลงใหม่ ดังนั้นจะเห็นได้นะครับว่าเมื่อเราพูดถึงนวัตกรรม เราไม่ได้พูดถึงแต่เฉพาะเทคโนโลยีชั้นสูงเท่านั้น ผมขออนุญาตตีความหมายรวมเลยว่านวัตกรรมน่าจะหมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสิ่งใหม่ๆ
เมื่อเราเข้าใจในที่มาของคำว่านวัตกรรมแล้ว คิดว่าท่านผู้อ่านก็คงจะเห็นภาพนะครับว่าเพราะเหตุใดนวัตกรรมถึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ และการแข่งขันในปัจจุบัน จริงๆ แล้วคงไม่ใช่แค่องค์กรธุรกิจเท่านั้นหรอกนะครับ ผมเชื่อว่าองค์กรทุกประเภทควรจะต้องให้ความสำคัญกับนวัตกรรม เนื่องจากในปัจจุบัน ถ้าองค์กรไม่สามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตนเองด้วยสิ่งใหม่ๆ แล้วย่อมยากที่จะทำให้องค์กรนั้นประสบความสำเร็จในระยะยาวได้ หน่วยงานที่ไม่ได้แสวงหากำไรหลายแห่งเริ่มที่จะพยายามพัฒนาตนเองในเชิงของนวัตกรรมมากขึ้น อย่างเช่นในหน่วยงานที่ผมสังกัดอยู่ (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เราก็ได้มีการกำหนดกลยุทธ์หลักของคณะในอันที่จะเป็น Innovative Business School เป็นต้น
ท่านผู้อ่านลองสังเกตดูองค์กรที่เป็นผู้นำในแต่ละธุรกิจดูซิครับ แล้วจะพบว่าความสำเร็จขององค์กรเหล่านั้นเกิดขึ้นจาก นวัตกรรมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมทางด้านสินค้า ด้านกระบวนการทำงาน ด้านการให้บริการ ด้านการจัดการ หรือด้านการตลาด และการที่องค์กรเหล่านี้จะสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่องก็ต้องเกิดขึ้นจากนวัตกรรมเช่นกัน
ถ้าองค์กรไม่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองจากสิ่งใหม่ๆ ได้แล้วย่อมยากที่จะทำให้องค์กรยังคงครองความเป็นที่หนึ่งได้ อย่างมากก็เป็นเพียงองค์กรธรรมดาๆ อีกแห่งหนึ่งเท่านั้นเอง
เมื่อท่านผู้อ่านเห็นความสำคัญของนวัตกรรมแล้ว ก็คงเกิดคำถามขึ้นในใจต่อนะครับ ว่าแล้วจะพัฒนาองค์กรของท่านให้มีลักษณะเป็น Innovative Organization หรือองค์กรแห่งนวัตกรรมได้อย่างไร? การพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถของผู้บริหารทุกองค์กร เพียงแต่จะต้องมีความเข้าใจต่อคุณลักษณะของ Innovative Organization เสียก่อน อีกทั้งต้องเข้าใจด้วยนะครับว่าคำว่าองค์กรแห่งนวัตกรรมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการมีหน่วยงานทางด้านการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เท่านั้น แต่การที่จะเป็น Innovative Organization ได้จะต้องเกิดขึ้นจากทั้งองค์กร เราลองมาดูกันนะครับว่าองค์กรที่มีลักษณะเป็น Innovative Organization ควรจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง
แรกสุดก็คงหนีไม่พ้นทิศทางและกลยุทธ์ที่ชัดเจนที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็น Innovative Organization อีกทั้งความมุ่งมั่นและทุ่มเทของผู้บริหาร ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่เขียนไว้เฉยๆ ว่าต้องการเป็น Innovative Organization แต่ผู้บริหารกลับไม่ได้ทำตัวให้เหมาะสมกับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม เมื่อทิศทางและความมุ่งมั่นของผู้บริหารชัดเจนแล้ว ก็คงจะต้องตามด้วยโครงสร้างองค์กรที่กระตุ้น และก่อให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีโครงสร้าง ที่มีความยืดหยุ่น ในระดับที่เหมาะสมที่จะกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร
แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังด้วยนะครับไม่ให้โครงสร้างมีลักษณะที่หลวมเกินไป เมื่อโครงสร้างสนับสนุนแล้ว ก็ต้องมีบุคลากรที่สำคัญที่จะทำหน้าที่ตามบทบาทต่างๆ ภายใต้กระบวนการนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่จะเป็นเจ้าภาพในโครงการ (Champions) หรือผู้สนับสนุน (Promoters) อีกทั้งบุคลากรภายในองค์กร ยังจะต้องมุ่งเน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม มากกว่าปัจเจกบุคคล
ทั้งนี้เนื่องจากนวัตกรรมจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้จากการทำงานร่วมกันของบุคคลที่มีพื้นฐานที่หลากหลายมากกว่า ในขณะเดียวกันก็ต้องอย่าลืมความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรนะครับ เนื่องจากการที่บุคลากรจะเป็นผู้ที่สามารถคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ได้บุคลากรเองจะต้องมีความรู้และทักษะที่เหมาะสม
นอกเหนือจากในเรื่องของทิศทาง โครงสร้าง การทำงานเป็นทีม และบุคคลแล้ว องค์กรที่จะมีลักษณะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมยังจะต้องให้ความสำคัญกับบรรยากาศและสภาวะแวดล้อมในการทำงานด้วย โดยถ้าเป็นไปได้องค์กรควรที่จะสร้างวัฒนธรรมขององค์กรที่ให้ความสำคัญและคุณค่ากับนวัตกรรมเป็นสำคัญ และต้องอย่าลืมว่าการจะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมได้นั้นความเชื่อมโยงกับปัจจัยภายนอกองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากหลายครั้งที่นวัตกรรมที่สำคัญภายในองค์กรไม่ได้เกิดขึ้นจากภายใน แต่เป็นการสามารถเชื่อมโยงแนวคิดต่างๆ จากภายนอกเข้ามารวมกันได้
ข้างต้นเป็นเพียงแค่บางส่วนของคุณลักษณะขององค์กรแห่งนวัตกรรมนะครับ ท่านผู้อ่านคงจะเห็นด้วยนะครับที่คำว่านวัตกรรมเป็นคำที่ดูดี เมื่อนำไปใส่ในวิสัยทัศน์หรือกลยุทธ์ขององค์กรใดก็แล้วแต่ ก็จะทำให้องค์กรนั้นดูดีไปด้วย แต่การที่จะพัฒนาองค์กรของตนเองให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมจริงๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด
การที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมเกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น องค์กรจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบอะไรบ้าง?
ประการแรกคงจะต้องเริ่มจากกลยุทธ์ขององค์กร ที่จะต้องมุ่งเน้นในด้านนวัตกรรมเป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นในด้านผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมภายนอกที่จะส่งผลต่อองค์กร ประการที่สององค์กรจะต้องมีเครื่องมือ กิจกรรม และแผนงานต่างๆ ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือในการบริหารโครงการด้านนวัตกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ความเป็นไป

หน่วยการเรียนที่4 ความหมายของนวัตกรรม


บทความความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษาคำยอดฮิตของเทคโนโลยีนั้นคงมีหลายคนได้ยินหรือรับรู้ผ่านสื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุหนังสือพิมพ์หรือแม้กระทั้งอาจารย์ผู้สอนแล้ว “นวัตกรรม” อาจจะเป็นคำยอดฮิตแต่มีไม่น้อยสำหรับคนที่รู้ความหมายแท้จริงนั้นเป็นเช่นไรว่า นวัตกรรมที่เกี่ยวกับการศึกษาหมายถึงอะไรความหมายของนวัตกรรมการศึกษานวัตกรรม เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งแต่เดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “ Innovation” แปลว่า การทำสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งใหม่ที่ทำขึ้นมา โดยคำว่า “นวกรรม” มาจากคำบาลีสันสฤต คือ “นว” หมายถึง ใหม่ และ “กรรม” หมายถึง ความคิด การปฏิบัติคำว่า “นวัตกรรม ” ได้มีนักการศึกษาให้ความหมายไว้มากมายหลายคน อาทิบุญเกื้อ ควรหาเวช (2543 : 14 - 15) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิด หรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นถวัลย์ มาศจรัส (2548 : 48) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึงความคิดใหม่ รูปแบบใหม่ วิธีการใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้รับการประยุกต์ สร้างสรรค์ และพัฒนา ทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิม หรือการคิดค้นขึ้นมาใหม่ด้วยภูมิปัญญาใหม่ เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัยเชาวเลิศ เลิศโอฬาร และ กอบกุล สรรพกิจจำนง (2543 : 5) ให้ความหมายของนวัตกรรมการศึกษาไว้ว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นสื่อการสอน เทคนิคการสอน การบริหารและการจัดการทางการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่ค้นคิด / สร้างขึ้นใหม่ หรือดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้หรือปฏิบัติอยู่ตามปกติที่ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และอยู่ในระหว่างการทดลองใช้หรือยังไม่ได้รับการผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนโดยสรุปตามปกติแล้ว นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วประหยัดเวลา และช่วยส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ได้รู้ความหมายของคำยอดฮิตที่เกี่ยวกับการศึกษานั้นคือ นวัตกรรมการศึกษาแล้วทุกๆคนคงหายสงสัยพร้อมที่จะรับมือกับการศึกษายุคใหม่โดยที่ไม่มีทางตกยุคของการศึกษาเลย

หน่วยการเรียนที่5

นวัตกรรมการเรียนรู้ สู่การศึกษาที่แท้
ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ผนวกกับความพากเพียรอุตสาหะได้รังสรรค์สิ่งใหม่ๆออกมาในโลกอยู่ตลอดเวลา เราเรียกสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ว่า “นวัตกรรม” นวัตกรรมตรงกับคำว่า “innovation” ในภาษาอังกฤษ โดยที่ในภาษาอังกฤษคำกริยาว่า innovate นั้นมีรากศัพท์มาจากคำภาษาลาตินว่า innovare ซึ่งแปลว่า “to renew” หรือ “ทำขึ้นมาใหม่” คนทั่วไปมักจะเข้าใจผิด คิดว่านวัตกรรมเป็นคำที่เกี่ยวข้องเฉพาะสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นในวงการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งในเรื่องนี้สมเด็จพระเทรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงอธิบายไว้ในการแสดงปาฐกถาเรื่อง “เทคโนโลยี นวัตกรรม กับการพัฒนาประเทศ” ในการประชุมประจำปีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 มีใจความตอนหนึ่งว่า

“... คนเรานั้นจะต้องมี นวัตกรรม คือต้อง innovative หรือต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่หรือความพอใจความสุขสบายของตัวเองเหมือนกัน ต้องแก้ปัญหาด้วยความคิด พอทางหนึ่งตันก็ต้องหาทางใหม่ ไม่งอมืองอเท้ายิ่งใน ภาวะวิกฤต ยิ่งต้องการนวัตกรรม ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม ตั้งแต่สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม...”

นวัตกรรมทางด้านการเรียนรู้ก็เช่นกัน จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องอาศัย “วิถีคิด” ที่ออกนอกกรอบเดิมพอสมควร คือจะต้องออกนอก “ร่อง” หรือช่องทางเดิมๆที่เคยชิน เรียกได้ว่าจะต้องพลิกกระบวนทัศน์ (shift paradigm) ที่มีอยู่เดิมเกี่ยวกับการเรียนรู้เสียใหม่ จากที่เคยเข้าใจว่า การเรียนรู้ก็คือการศึกษาเพียงเพื่อให้ได้รู้ไว้ มาเป็นการเรียนรู้ที่นำมาใช้พัฒนางาน พัฒนาชีวิต ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้แบบหลังนี้จึงเป็นความรู้ชนิดที่แนบแน่นอยู่กับงาน เกี่ยวพันอยู่กับปัญหา เป็นความรู้ที่มีบริบท (context-riched) ไม่ใช่ความรู้ที่อยู่ลอยๆ ไม่สัมพันธ์หรืออิงอยู่กับบริบทใดๆ (contextless) การเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ใหม่นี้จึงมักจะเริ่มต้นด้วยการพัฒนาตัวโจทย์ขึ้นมาก่อนโดยใช้ปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงเป็นหลัก เรียกได้ว่ามีความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น จึงเป็นแรงผลักดันทำให้เกิดการเรียนรู้นี้ขึ้น การเรียนรู้ประเภทนี้เรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้แบบอุปสงค์ (demand-side learning) คือ มีความประสงค์ มีความต้องการที่จะทำอะไรบางอย่าง แล้วจึงเกิดการเรียนรู้ขึ้นมา ซึ่งจะตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบที่เราคุ้นเคยกันดีในระบบการศึกษา ที่มักจะเน้นการถ่ายทอดความรู้จากครูไปสู่นักเรียน คือจากผู้รู้ไปสู่ผู้เรียน คือมีลักษณะเป็นการเรียนรู้แบบอุปทาน (supply-side learning) ซึ่งข้อเสียที่เห็นได้ชัดเจนของการเรียนรู้แบบนี้ก็คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครูต้องคอยป้อน(ยัด) ความรู้เหล่านี้เข้าปาก(หัว) ผู้เรียนอยู่ตลอดเวลา โดยมักจะใช้การประเมิน การวัดผล หรือการสอบ เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับใช้ “ผลัก” หรือ “ดัน” ให้คนหันมาสนใจตั้งใจเรียน การเรียนรู้แบบนี้ครูจึงมีหน้าที่หลักในการ “ผลัก” หรือ “push” ให้เกิดการเรียนรู้ มากกว่าที่จะปล่อยให้ผู้เรียน “ฉุด” หรือ “ดึง” (pull) ตัวเองไปโดยใช้ความสนใจหรือความต้องการที่จะเรียนรู้เป็นตัวดึง ซึ่งก็คือแรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนเองโดยไม่ต้องให้ใครมาออกแรงผลัก ออกแรงดันดังเช่นที่ทำกันอยู่ในทุกวันนี้

การเรียนรู้ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้จะสร้างมุมมองที่ค่อนข้างจะเป็นองค์รวม (holistic view) คือมองเห็นงาน เห็นปัญหา เห็นชีวิต ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน มองว่าปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของงาน และมองเห็นงานเป็นกระบวนการที่สำคัญของชีวิต จนอาจเข้าใจลึกซึ้งถึงขั้นที่เห็นว่า “การทำงานคือการปฏิบัติธรรม” ตามคำกล่าวของท่านอาจารย์พุทธทาสเลยทีเดียว ในขณะที่กระบวนทัศน์เดิมจะมองงานด้วยสายตาที่คับแคบกว่ามาก คือมองเห็นงานว่าเป็นเรื่องของการทำมาหากินประกอบอาชีพ เพื่อให้ได้เงินมาสำหรับจับจ่ายใช้สอยเพียงเท่านั้น ผู้ที่คิดเช่นนี้ มักจะเห็นงานว่าเป็นสิ่งที่ยากลำบาก เป็นสิ่งที่ต้องทนทำไป เพียงเพื่อให้ได้เงินมาจึงจะมีความสุข หลายคนถึงกับบ่นกับตัวเองว่า เมื่อไรจะถึงวันหยุด เมื่อไรจะถึงวันเสาร์-อาทิตย์ (สำหรับคนที่ทำงานออฟฟิศ หรือรับราชการ) ซึ่งการคิดแบบนี้จะเห็นได้ทันทีว่าพวกเขาเหล่านี้จะมีชีวิตที่ “ขาดทุน” ไปทุกๆสัปดาห์ เพราะสัปดาห์หนึ่งๆ จำต้องทนทุกข์ทรมานไป 5 วัน โดยที่รู้สึกสุขได้เพียงแค่ 2 วัน เรียกว่าต้องขาดทุนสะสมไปเรื่อยๆทุกสัปดาห์ แต่ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้ที่มองเห็นงาน ปัญหา และชีวิตว่าเป็นสิ่งเดียวกัน จะทำให้เราเข้าใจสิ่งที่ท่านอาจารย์พุทธทาสพร่ำสอนอยู่เสมอว่า “ความสุขที่แท้ มีอยู่แต่ในงาน”

การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งสำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ แต่ลำพังเพียงแค่การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือวิถีคิด ก็มิได้หมายความว่านวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เองโดยปริยาย จำเป็นจะต้องอาศัยปัจจัยและองค์ประกอบอื่นๆมาอุดหนุนเกื้อกูลจึงจะประสบผลสำเร็จ ในบทความนี้จะขอหยิบยก 3 องค์ประกอบหลัก ที่ถือว่าจำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ซึ่งก็ได้แก่ (1) เวลา (2) เวที และ (3) ไมตรี

องค์ประกอบแรกที่จะขอพูดถึงก็คือเรื่องของ “เวลา” พูดง่ายๆและตรงที่สุดก็คือถ้าไม่มีเวลา การเรียนรู้ก็ไม่เกิดหรือเกิดได้ยาก ในหลายๆที่เรามักจะพบเห็นคนที่มีงานหรือที่ทำตัวให้ยุ่งอยู่ตลอดทั้งวันจนดูเหมือนว่าไม่มีเวลาสำหรับใช้วิเคราะห์สังเคราะห์ปัญหาหรือสรุปบทเรียใดๆเลย ทั้งๆที่ในปัจจุบันนี้เราก็มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีไปอย่างมากมาย ชีวิตน่าจสะดวกสบายและมีเวลามากขึ้น แต่ดูเหมือนว่าคนเรามีกลับมีเวลาว่างน้อยลง ความเจริญทางด้านต่างๆมีการพัฒนาไปอย่างกว้างขวาง ในบางจังหวัดบางพื้นที่มีการจัดระบบชลประทานที่ดีทำให้ชาวนามีน้ำเพียงพอที่จะทำนาได้ปีละกว่า 3 ครั้ง แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับกลายเป็นว่า ชาวนาไม่ได้มีสถานภาพทางเศรษฐกิจดีขึ้นกว่าเดิมมากนัก แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ พวกเขากลับมีคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำลง สุขภาพเสื่อมโทรมเพราะทำงานหนักขึ้น สัมผัสกับสารเคมีมากขึ้น มีเวลาให้กับครอบครัวน้อยลง จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่า เวลาคือปัจจัยที่สำคัญอันดับแรกที่จำเป็นยิ่งสำหรับการเรียนรู้ องค์กร ชุมชน หรือครอบครัวใดที่คนมัวแต่ยุ่งอยู่ตกอยู่ในสภาพที่เรียกว่า “โงหัวไม่ขึ้น” จะทำให้หมดโอกาสที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ และไม่มีเวลาสำหรับใช้คิดสร้างสรรค์ได้เลย สภาพเช่นเดียวกันนี้ก็เป็นสิ่งที่พบเห็นกันได้ในมหาวิทยาลัย ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของสถาบันที่เป็นผู้นำเรื่องการเรียนรู้เช่นกัน นักศึกษาปริญญาโทส่วนใหญ่ต้องทำงานไปและเรียนไปด้วยควบคู่กัน หลายคนไม่เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีเวลามากพอที่จะเข้าชั้นเรียน หรือไม่มีเวลาสำหรับ “ย่อย” สิ่งที่ได้รับฟังหรืออ่านมา บางคนก็ไม่มีเวลาที่จะร่วมทำงานกลุ่ม หรือวิเคราะห์กรณีศึกษาที่อาจารย์มอบหมายให้ ถึงแม้ตัวอาจารย์เองก็เช่นกันหลายคนยุ่งอยู่กับงานสอนทั้งที่เป็นโครงการปกติและโครงการพิเศษต่างๆ จนไม่มีเวลาว่างพอที่จะไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพิ่มเติม หรือให้เวลาในการพบปะพูดคุยกับนักศึกษานอกชั้นเรียนได้เลย จากตัวอย่างทั้งหมดที่นี้คงจะเห็นแล้วว่า เวลามีความสำคัญต่อการเรียนรู้เพียงใด นวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าหากไม่มีสิ่งที่เราเรียกว่า “เวลา”

นอกเหนือจากเรื่องเวลาแล้ว องค์ประกอบตัวต่อไปที่จะช่วยสนับสนุนและสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ได้ก็คือ จะต้องจัดให้มี พื้นที่ หรือเวที ไว้ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เวทีการเรียนรู้นี้ ถ้าจะให้ดีควรมีรูปแบบที่หลากหลาย คือ มีทั้งเวทีที่จัดตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการ อาทิเช่นการจัดประชุมรูปแบบต่างๆ และเวทีในรูปแบบที่อาจจะไม่เป็นทางการมากนัก คืออาจจัดในลักษณะที่เป็นการรวมตัวของคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน หรือทำงานด้านเดียวกัน เป็นการจับกันแบบ “หลวมๆ” คือให้เป็นไปตามความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ ในภาษาอังกฤษเรียกการ “ชุมนุม” ของคนกลุ่มต่างๆนี้ว่า Community of Practices หรือเรียกสั้นๆว่า “CoPs” ตามจริงแล้ว การสร้าง CoPs ให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่นั้น สิ่งที่สำคัญก็คือจะต้องพยายามสร้างความหลากหลายให้เกิดขึ้นให้มากที่สุด การที่ CoPs ประกอบด้วยคนที่มีพื้นฐานและประสบการณ์หลากหลายจะทำให้ได้มุมมองที่ค่อนข้างเปิดกว้าง แต่ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายนี้ด้วย โดยที่ทุกคนจะต้องมีเป้าหมายร่วมกัน ไม่ใช่ไปกันคนละทิศคนละทาง กำหนดเป็นหลักการได้ว่า “ความคิดเห็นจำเป็นต้องหลากหลาย แต่เป้าหมายจะต้องเป็นหนึ่งเดียว” ความคิดเห็นที่หลากหลายนี้จะเป็นหัวเชื้อสำคัญที่ทำให้เกิดพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ สิ่งที่สำคัญก็คือ คนที่มารวมตัวกันนี้จะต้องรู้สึกอิสระและปลอดภัย ความเป็นอิสระ และความรู้สึกปลอดภัย จะทำให้คนเชื่อใจกัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน ทำให้พร้อมที่จะแบ่งปัน เอื้อเฟื้อ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
เวทีดังกล่าวนี้เป็นได้ทั้งพื้นที่ทางกายภาพ (physical space) ที่คนสามารถเข้ามาพบปะ พูดคุย ประชุมกัน มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ หรืออาจจะเป็นพื้นที่เสมือน (virtual space) ที่สร้างขึ้นมาโดยอาศัยเครือข่ายอินเตอร์เนท (internet) ก็ได้ อาทิเช่น การใช้ e-mail loop, webboard หรือ weblog จริงๆแล้วเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (Information & Communication Technology) หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “ICT” นั้นเป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างทรงพลังอย่างยิ่งในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ ดังจะเห็นได้จากแนวโน้มการใช้ internet/ search engine และการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ที่นับวันจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาสำคัญอยู่ตรงที่ว่า ICT นั้นอาจช่วยได้ในเรื่อง “to know” หรือ “การรู้” แต่อาจจะไม่สามารถช่วยเรื่อง “to learn” หรือ “การเรียนรู้” ได้มากนักเพราะเรื่องการเรียนรู้เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยคน เป็นกระบวนการที่ต้องผ่านคนเป็นหลัก คนหลายคนยังสับสนแยกไม่ออกระหว่างสิ่งที่เราเรียกว่า “รู้” ซึ่งก็คือ “ to know” กับการเรียนรู้ ซึ่งก็คือ “to learn” การรู้กับการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน การรู้ หรือ to know เป็นการมองภายใต้กระบวนทัศน์เดิม คือเป็นการมองแบบ supply–side มองเห็นว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ต้องการให้รู้ จึง supply ให้ ในขณะที่การเรียนรู้หรือ to learn นั้นเป็นการมองภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่ ภายใต้มุมมองแบบ demand–side เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมาควบคู่กับการที่ได้ “ทำจริง” เป็นการเรียนรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ (learning by doing) เมื่อได้ทำ ก็ทำให้ได้ รู้จริง หรือเมื่อทำไปเรื่อยๆก็อาจจะ รู้แจ้ง ได้ ไปในที่สุด จุดแข็งของ ICT นั้นอยู่ตรงที่สามารถสร้างเครือข่ายที่กว้างไกลและสามารถขยายไปได้อย่างรวดเร็ว การสร้างเวทีเสมือนบนเครือข่าย ICT จึงเป็นเวทีที่ทำให้ผู้สนใจเข้าถึงได้โดยง่าย สะดวกรวดเร็ว ทำให้สามารถขยาย การรู้ หรือ to know นี้ออกไปได้อย่างกว้างขวาง โจทย์ที่เหลืออยู่ก็คือ จะต้องทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้ที่ได้รู้เหล่านี้เดินต่อไปจนถึงขั้นที่จะลองนำมาปฏิบัติ เพื่อจะได้เกิดความชัดเจนเกิดเป็นการเรียนรู้ที่แท้จริงต่อไป ขอย้ำอีกครั้งว่า ICT นั้นเป็น “เครื่องมือ” ที่ทรงพลังในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ แต่ ICT มิใช่ “เป้าหมาย” ICT มิได้เป็นตัวนวัตกรรมการเรียนรู้อย่างที่หลายคนเข้าใจ

ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่สามที่จำเป็นสำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ นอกเหนือจากที่ต้องมี เวลา มีพื้นที่หรือเวทีให้แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ไมตรี คือต้อง มีใจ ให้แก่กันและกันด้วย ท่านลองหลับตานึกดูก็แล้วกันว่า ถ้ามีเวลาให้ และมีการจัดสรรพื้นที่ให้พบปะพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกันแล้ว หากแต่ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องมีใจที่ปิดกั้น คับแคบ เต็มไปด้วยอัตตา (ego) มีอคติ (bias) แล้วจะเกิดอะไรขึ้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้คงจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน นวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จึงจำเป็นต้องอาศัยใจที่เปิดกว้าง ต้องเป็น “ใจที่ว่าง” ว่างพอที่จะพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ ที่หลั่งไหลเข้ามา ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในสภาวะ “น้ำชาล้นถ้วย” คือไม่สามารถรับอะไรใหม่ลงไปได้อีกเลย นอกจากนั้นใจที่ว่างยังหมายถึงการที่ไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งเก่าๆ จะต้องพัฒนาให้คนมีความสามารถที่จะ “ลอกทิ้ง” สิ่งเก่าๆ คือมีทักษะที่จะ “unlearn” ได้ด้วย ใจที่ปล่อยวาง จะเป็นใจที่ไม่อคติ จะมองทุกสิ่งทุกอย่างด้วยปัจจุบันขณะ เห็นทุกอย่างในลักษณะที่ “ใหม่หมด สดเสมอ” เพราะเป็นการเห็นด้วยความระลึกรู้ด้วยความรู้ตัวว่าสิ่งที่กำลังเห็นนั้นเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ไม่ซ้ำกับสิ่งที่ได้เกิดไปแล้วในอดีต เป็นความรู้สึกที่ตื่น ชื่นบาน ต้องการแบ่งปัน และกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

การศึกษาที่แท้นั้น จะไม่มองผู้เรียนเปรียบดั่งเป็นถังน้ำ และมองบทบาทของครูผู้สอนว่าเป็นผู้ที่มีหน้าที่เติมน้ำให้เต็มถัง ซึ่งก็จะเป็นการมองแบบ supply–side หากแต่ต้องมองว่าหน้าที่ของครูอาจารย์นั้นจริงๆแล้วก็คือผู้ที่จุดไฟแห่งความใฝ่รู้ให้กับผู้ที่เป็นศิษย์ ทำให้ศิษย์เกิดฉันทะมีความต้องการที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนอย่างไม่จบสิ้น เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า “ไม่ว่าพ่อครัวจะเก่งกาจในฝีมือปรุงอาหารสักเพียงใด หากผู้ที่รับประทานไม่หิวแล้ว อาหารมือนั้นก็คงจะไม่มีความหมายอะไรมากนัก” ดังนั้นโจทย์ที่สำคัญในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้น่าจะอยู่ตรงที่ว่า เราจะต้องทำอย่างไรให้คนหิวกระหายและใคร่ที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา การสร้างฉันทะ สร้างความต้องการที่จะพัฒนางาน พัฒนาชีวิตให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน เท่ากับเป็นการสร้างdemand สร้างแรงดึง (pull) อันนำไปสู่การเรียนรู้ชนิดที่แนบแน่นเป็นเนื้อเดียวกับชีวิต สิ่งที่สำคัญก็คือเราจะต้องรู้จัก “บริหารความว่าง” คือต้องไม่ลืมที่จะจัดเวลา หาเวลาว่าง เตรียมพื้นที่ หาที่ว่าง ไว้สำหรับใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และที่สำคัญคือจะต้องไม่ลืมที่จะพัฒนาใจให้รู้จักการปล่อยวาง และว่างพอที่จะรู้สึกและเข้าใจในคุณค่าของสิ่งต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเราอยู่ในขณะนี้

----------------------

หน่วยที่ 6 เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการเรียนรู้

เทคโนโลยี

หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา


เทคโนโลยี
มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆคำว่า เทคโนโลยี ในทางเศรษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่า เป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้นคำว่า “เทคโนโลยี” มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แก้ปัญหาพื้นฐาน ในการดำรงชีวิต เช่น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เป็น เทคโนโลยีพื้นฐานไม่สลับซับซ้อนเหมือนดังปัจจุบัน การเพิ่มของประชากร และข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นปัจจัยด้านเหตุสำคัญในการนำและพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับประเทศตะวันตก ได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยหลักสำคัญคือ ความรู้ทาง ิทยาศาสตร์คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น (Why) เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจนเป็นต้น



คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมาลองนึกดูว่าทรายที่เราเห็นอยู่บนพื้นดิน ตามชายหาด ชายทะเลเป็นสารประกอบของซิลิกอน ทรายเหล่านั้นมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป ครั้งมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และไอซี (Integrated Circuit : IC) ไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้เป็นชิพซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ สารซิลิกอนดังกล่าวเมื่อผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีแล้วจะมีราคาสูงสามารถนำมาขายได้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพราะเรานำเอาวัตถุดิบมาผ่านเทคนิคการดำเนินการ จะได้วัตถุสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้จะมีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบนั้นมาก ประเทศใดมีเทคโนโลยีมากมักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีจึงเป็นหาทางที่จะช่วยในการพัฒนาให้สินค้าและบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทุกประเทศจึงให้ความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงานด้านต่าง ๆส่วนคำว่าสารสนเทศ หมายถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ


เครือข่ายการเรียนรู้

ความหมายของเครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง การเรียนรู้ในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมทางการศึกษาของมนุษย์ ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา และการศึกษาผู้ใหญ่ โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้ควบคุมระบบ การทำงาน และเครือข่ายการสื่อสาร นอกจากนี้การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนยังแตกต่างกันออกไป ตามความสามารถในการสื่อสาร ของตัวผู้เรียนเอง และสภาวะแวดล้อมในการเชื่อมโยงข้อมูลอีกด้วยการศึกษาในเครือข่ายการเรียนรู้ นับเป็นการศึกษาแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning) เป็นการเรียนการสอนที่ ไม่จำกัดเวลา สถานที่ และบุคคล ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนเวลาใด สถานที่ใด กับบุคคลใดก็ได้โดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาใช้ในการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเครือข่ายภายในสถานศึกษา และเชื่อมต่อไปสู่ระบบอินเทอร์เน็ตจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการเรียนรู้ของผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนมีความพร้อม และสะดวกในการเรียนแต่ละครั้งผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากบทเรียน ออนไลน์ มีการใช้เว็บบอร์ด ใช้ระบบมัลติมีเดียเพื่อเชื่อมการเรียน การสอนถึงกันตลอดเวลา ทำให้เกิดการเรียนการสอนทางไกล และการเรียนการสอนออนดีมานด์


อาจกล่าวได้ว่าเป็นแนวคิดและกระบวนการในการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน ตลอดจนองค์กร ให้เกื้อกูลและเชื่อโยงกันที่ช่วยแลกเปลี่ยนความรู้ เครือข่ายการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการหรือกลไกที่ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้โดยการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ อเนก นาคะบุตร (2536 : 45 – 46) เสนอไว้ว่าลักษณะหรือรูปแบบของเครือข่ายการเรียนรู้ไม่มีกฎเกณฑ์หรือหลักเกณฑ์ตายตัว ประชาชนต้องเรียนรู้จากกันและกัน จากความรู้ที่ได้จากที่อื่น แล้วขยายความรู้ให้ผู้อื่นทราบด้วย เป็นการช่วยให้เกิดการศึกษาที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของบุคคลวิชัย ตันศิริ (2536 : 13 – 14) ได้แสดงทัศนะที่สอดคล้องกันว่า หัวใจสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้อย่างหนึ่งคือการถ่ายทอดแลกเปลี่ยน และกระจายความรู้ ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับชุมชน และความรู้ดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาภายในชุมชน ในแต่ละชุมชนมักมีความรู้ที่มีการสะสมและสืบทอดกันมา ซึ่งมักเป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนนั้น ๆ และเป็นความรู้ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสภาพที่เป็นจริงของชุมชน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2536 : 4 – 5) ให้แนวคิดอีกว่า ในวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์มีกระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม และบุคคลรอบข้างขณะเดียวกันก็ได้มีการจัดระบบการเรียนรู้ และการถ่ายทอดให้สมาชิกในสังคมด้วยวิธีการต่างกัน ในอดีตที่ผ่านมาชุมชนได้ทำหน้าที่นี้ ทำให้สมาชิกของชุมชนมีความรู้ประกอบอาชีพได้ สามารถสืบทอดวัฒนธรรมและค่านิยมได้อย่างต่อเนื่อง